การซ้อมรบมิลเลนเนียมชาเลนจ์ 2002: เมื่อกลยุทธ์ตัดสินใจโดยการคิดวิเคราะห์ ปะทะ การใช้สัญชาตญาณ

เมื่อปี 2002 กระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา ได้ทดลองเกมการรบครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ทุ่มงบกว่า 250 ล้านดอลลาร์ โดยเรียกการซ้อมรบผ่านเกมจำลองครั้งนี้ว่า มิลเลนเนียมชาเลนจ์ 2002 (Millennium Challenge 2002) เกมจำลองการรบครั้งนี้เป็นการสมมติสถานการณ์การต่อสู้ระหว่าง ฝ่ายสหรัฐอเมริกา หรือ Blue Team กับฝ่ายกองกำลังเถื่อน หรือ Red Team โดยฝ่ายสหรัฐฯ หรือ Blue Team มีอุปกรณ์ไฮเทคอย่างพร้อมพรัก ไม่ว่าจะเป็น ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ ดาวเทียม อุปกรณ์ข่าวกรองต่างๆ ทำให้ได้รับข้อมูลข่าวกรองในปริมาณมหาศาลอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน มีขั้นตอนการทำงานที่สมเหตุสมผล เป็นระบบ และแม่นยำ พวกเขาได้รับของเล่นทุกชิ้นในคลังสรรพาวุธของกระทรวงกลาโหมเลยทีเดียว ส่วนฝ่ายกองกำลังเถื่อน หรือ Red Team นำโดยนายพลแวนไรเปอร์ สมมติว่าเป็นกองกำลังกบฏของประเทศในแถบอ่าวเปอร์เซีย ที่สนับสนุนกลุ่มก่อการร้าย และเป็นปฏิปักษ์กับสหรัฐฯ ตามประวัติการรบแล้ว นายพลแวนไรเปอร์เป็นนายทหารผู้ซึ่งเชื่อมั่นว่า สงครามนั้นทำนายล่วงหน้าไม่ได้ โดยเขายึดแนวคิดของนโปเลียนว่า “แม่ทัพไม่เคยรู้บางสิ่งอย่างแน่ชัด ไม่เคยเห็นศัตรูอย่างแจ่มแจ้ง และไม่เคยรู้ว่าอย่างชัดเจนว่าตัวเองกำลังอยู่ที่ไหน” เขาเกลียดการตัดสินใจที่อาศัยการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบตามที่กระทรวงกลาโหมพยายามพิสูจน์ในการซ้อมรบครั้งนี้ เพราะว่ามันใช้เวลานานเกินไป จึงไม่เหมาะต่อการนำไปใช้ในสถานการณ์สงครามอย่างยิ่ง เราพอจะพูดได้ว่า การซ้อมรบครั้งนี้เป็นการพิสูจน์กลยุทธ์การทำสงครามระหว่าง ฝ่ายที่เน้นการรวบรวมข้อมูลให้ชัดเจนเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์และตัดสินใจอย่างเป็นระบบ กับฝ่ายที่เน้นสัญชาตญาณนำการรบ นั่นเอง

MilleniumChallenge2002

เกมการรบครั้งนี้ ใช้แบบจำลองคอมพิวเตอร์ (Computer Simulation) เพื่อจำลองเหตุการณ์ขึ้นมาอย่างสมจริงจนคนในห้องซ้อมรบมองไม่ออกว่าเป็นเรื่องสมมติ การซ้อมรบครั้งนี้ใช้เวลา 2 สัปดาห์ครึ่ง ในวันแรกของการซ้อมรบ ทีมสหรัฐฯได้ส่งกองกำลังหลายหมื่นนาย พร้อมกองเรือบรรทุกเครื่องบินเข้าสู่อ่าวเปอร์เซีย เพื่อล้อมกองกำลังทีมสีแดงของแวนไรเปอร์ เมื่อแสดงแสนยานุภาพให้เห็นอย่างชัดเจนแล้ว ก็ยื่นข้อเสนอให้แวนไรเปอร์ยอมจำนน ทีมสหรัฐฯมีข้อมูลชัดเจนว่าทีมแวนไรเปอร์ฯมีจุดอ่อนตรงไหน ตั้งใจจะทำอะไรต่อไป และเริ่มตัดเสาส่งคลื่นไมโครเวฟและระบบไฟเบอร์ออปติกของแวนไรเปอร์ เพราะคิดว่าจะบีบให้แวนไรเปอร์ไปสื่อสารด้วยดาวเทียมและโทรศัพท์มือถือ แต่ปรากฏว่า แวนไรเปอร์ไม่ได้ทำอย่างนั้นเลย เขาสื่อสารด้วยเมสเสนเจอร์ขี่มอเตอร์ไซค์ หรือใส่ในข้อความบทสวดมนต์ส่งผ่านในมัสยิด การนำเครื่องบินขึ้นก็ทำโดยใช้ระบบไฟสัญญาณ แบบยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยไม่ใช่ระบบสื่อสารวิทยุที่ล่มไปแล้ว พอวันที่สอง แวนไรเปอร์ ส่งกองเรือลำเล็กๆ เข้าไปในอ่าวเปอร์เซีย เพื่อติดตามเรือทีมสหรัฐฯ และระดมยิงนาน 1 ชั่วโมงด้วยขีปนาวุธขนาดเล็กอย่างที่ไม่ทันได้ตั้งตัว จนทำให้ เรือ 16 ลำของทีมสหรัฐต้องจมไปนอนก้นอ่าวเปอร์เซีย ถ้าการซ้อมรบครั้งนี้เกิดขึ้นจริง ทหารอเมริกันจะต้องเสียชีวิตกว่า 20,000 คนก่อนที่กองทัพของเขาจะทันยิงปืนด้วยซ้ำ และจะกลายเป็นโศกนาฏกรรมของกองทัพสหรัฐนับตั้งแต่เพิร์ลฮาร์เบอร์เลยทีเดียว

วันรุ่งขึ้น นายทหารผู้ดูแลปฏิบัติการซ้อมรบครั้งนี้ ตัดสินใจให้เริ่มทุกอย่างใหม่ทั้งหมด เรือรบทั้ง 16 ลำที่จมอยู่ใต้ก้นอ่าวเปอร์เซีย ถูกชุบชีวิตขึ้นมาใหม่อีกครั้ง เมื่อทีมแวนไรเปอร์ยิงขีปนาวุธใส่ทีมสหรัฐฯ ผลปรากฏว่า ระบบป้องกันขีปนาวุธจะยิงมันตกทุกลูก เขาถูกห้ามใช้เรดาร์เพื่อไม่ให้แทรกแซงฝ่ายสหรัฐฯได้ พูดง่ายๆคือ การซ้อมรบรอบที่สองนี้ถูกเขียนบทไว้หมดแล้ว ทำให้ทีมสหรัฐฯเป็นฝ่ายชนะไปอย่างเด็ดขาดในรอบสองนี้ กระทรวงกลาโหม สหรัฐฯ ประกาศความสำเร็จของนโยบายการรบแบบใหม่ที่ใช้ข่าวสารข้อมูลปริมาณมหาศาลและการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบเป็นปัจจัยสู่ชัยชนะ ตามบทที่พวกเขาตั้งไว้ตั้งแต่ก่อนซ้อมรบ

เพื่อให้ได้ข้อคิดที่เป็นประโยชน์ เราต้องมองข้ามผลการซ้อมรบอย่างเป็นทางการ แต่หันกลับไปศึกษาความสำเร็จของแวนไรเปอร์ที่ถล่มทีมสหรัฐฯได้ในช่วงสองวันแรก แวนไรเปอร์ให้ข้อคิดไว้ว่า “ถ้าให้เปรียบเทียบระหว่างการคิดวิเคราะห์กับการตัดสินใจตามสัญชาตญาณแล้ว คงไม่มีแบบไหนดีหรือแย่กว่ากันหรอก แต่ปัญหาจะเกิดเมื่อคุณใช้วิธีที่ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์” ในระหว่างการสู้รบจริงๆ ผู้นำต้องตัดสินใจเดี๋ยวนั้น ไม่สามารถนั่งรอข้อมูลวิเคราะห์ให้ชัดเจนแล้วค่อยตัดสินใจ “ถ้าคุณเอาแต่หมกมุ่นอยู่กับการหาข้อมูล ดีไม่ดีคุณจะจมกองข้อมูล”

*********************************************************
โดย พงษ์พันธ์ วงศ์หนองเตย
CelestialStrategist.com
21 กุมภาพันธ์ 2559
*********************************************************

ข้อมูลจาก หนังสือ Blink โดย Malcolm Gladwell บทที่ 4: Paul Van Riper’s Big Victory – Creating Structure for Spontaneity
เครดิตภาพประกอบจาก http://archive.defense.gov

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s